ระบบสนับสนุนการตัดสินใจ หรือ DSS เป็นซอฟต์แวร์หรือตัวโปรแกรมที่ช่วยในการตัดสินใจเกี่ยวกับการบริหารจัดการ การ
รวบรวมข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูล และการสร้างตัวแบบที่ซับซ้อนภายใต้ซอฟต์แวร์เดียวกัน เพื่อแก้ปัญหาที่มีความยุ่งยากซับซ้อน DSS ยังเป็นการประสานการทางานระหว่างบุคลากรกับเทคโนโลยีทางด้านซอฟต์แวร์ โดยเป็นการกระทาโต้ตอบกัน
เพื่อแก้ปัญหาแบบไม่มีโครงสร้าง และอยู่ภายใต้การควบคุมของผู้ใช้ตั้งแต่เริ่มต้นถึงสิ้นสุดขั้นตอน
รวบรวมข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูล และการสร้างตัวแบบที่ซับซ้อนภายใต้ซอฟต์แวร์เดียวกัน เพื่อแก้ปัญหาที่มีความยุ่งยากซับซ้อน DSS ยังเป็นการประสานการทางานระหว่างบุคลากรกับเทคโนโลยีทางด้านซอฟต์แวร์ โดยเป็นการกระทาโต้ตอบกัน
เพื่อแก้ปัญหาแบบไม่มีโครงสร้าง และอยู่ภายใต้การควบคุมของผู้ใช้ตั้งแต่เริ่มต้นถึงสิ้นสุดขั้นตอน
DSS เป็นระบบที่ช่วยผู้บริหารในเรื่องการตัดสินใจโดยเฉพาะข้อมูลที่มีการเปลี่ยนแปลงไม่มีรูปแบบที่แน่นอน มีความยืดหยุ่นในการทางาน และสามารถที่จะตอบสนองได้อย่างรวดเร็ว
การตัดสินใจ (Decision Making) ประกอบด้วย 4 ขั้นตอน คือ
1.การใช้ความคิดประกอบเหตุผล (Intelligence) เป็นขั้นตอนที่รับรู้และตระหนักถึงปัญหาหรือโอกาสที่เกิดขึ้น ทำการรวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับปัญหา นำข้อมูลมาวิเคราะห์และตรวจสอบเพื่อแยกแยะและกำหนดรายละเอียดของปัญหาหรือโอกาส
2.การออกแบบ (Design) เป็นขั้นตอนของการพัฒนาและวิเคราะห์ทางเลือกในการปฏิบัติที่เป็นไปได้ รวมถึงการตรวจสอบและประเมินทางเลือกในการแก้ปัญหา ซึ่งอาจใช้ตัวแบบเพื่อสร้างทางเลือกต่าง ๆ ในการแก้ปัญหา หรือออกแบบหนทางแก้ปัญหาที่ดีที่สุด
3.การคัดเลือก (Choice) ผู้ตัดสินใจจะเลือกแนวทางเลือกที่เมาะสมกับปัญหาและสถานการณ์มากที่สุด โดยอาจใช้เครื่องมือมาช่วยวิเคราะห์ คำนวณค่าใช้จ่ายและผลตอบแทนของแต่ละแนวทางเพื่อให้เกิดความมั่นใจว่าได้เลือกแนวทางที่ดีที่สุด
4.การนำไปใช้ (Implementation) เป็นขั้นตอนที่นำผลการตัดสินใจไปปฏิบัติและ คิดตามผลของการปฏิบัติเพื่อตรวจสอบว่าการดำเนินงานมีประสิทธิภาพหรือมีข้อขัดข้องประการใด จะต้องแก้ไข้หรือปรับปรุงให้สอดคล้องและเหมาะสมกับสถานการณ์อย่างไร
ระดับของการตัดสินใจภายในองค์การ แบ่งออกเป็น 3 ระดับ คือ
– ระดับกลยุทธ์
– ระดับยุทธวิธี
– ระดับปฏิบัติการ
– ระดับยุทธวิธี
– ระดับปฏิบัติการ
ประเภทของการตัดสินใจ มี 3 ประเภท ได้แก่
– โครงสร้าง
– กึ่งโครงสร้าง
– ไม่มีโครงสร้าง
ส่วนประกอบของระบบ DSS ประกอบด้วยส่วนประกอบหลัก 3 ส่วน
โครงสร้างระบบสนับสนุนการตัดสินใจ
อุปกรณ์ แบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม
– อุปกรณ์ประมวลผล คอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ มินิคอมพิวเตอร์
– อุปกรณ์สื่อสาร ประกอบด้วย ระบบสื่อสารต่าง ๆ
– อุปกรณ์แสดงผล จอภาพที่มีประสิทธิภาพ และความความละเอียดสูง
– อุปกรณ์ประมวลผล คอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ มินิคอมพิวเตอร์
– อุปกรณ์สื่อสาร ประกอบด้วย ระบบสื่อสารต่าง ๆ
– อุปกรณ์แสดงผล จอภาพที่มีประสิทธิภาพ และความความละเอียดสูง
กระบวนการทางาน
– ฐานข้อมูล (Database) ไม่มีหน้าที่สร้าง หรือค้นหา หรือปรับปรุงข้อมูลในฐานข้อมูลแต่มีฐานข้อมูลของตัวเอง ที่รวบรวมข้อมูลสาคัญที่รอการประมวลผลประกอบการตัดสินใจ
– ฐานแบบจาลอง (Model Base) ที่รวบรวมแบบจาลองทางคณิตศาสตร์และแบบจาลองในการวิเคราะห์ปัญหาที่สาคัญ แตกต่างกันตามวัตถุประสงค์ในการนาไปใช้
– ระบบชุดคาสั่ง (DSS Software system) เป็นส่วนสาคัญที่ช่วยอานวยความสะดวกในการโต้ตอบระหว่างผู้ใช้กับฐานข้อมูลและฐานแบบจาลอง
– ฐานข้อมูล (Database) ไม่มีหน้าที่สร้าง หรือค้นหา หรือปรับปรุงข้อมูลในฐานข้อมูลแต่มีฐานข้อมูลของตัวเอง ที่รวบรวมข้อมูลสาคัญที่รอการประมวลผลประกอบการตัดสินใจ
– ฐานแบบจาลอง (Model Base) ที่รวบรวมแบบจาลองทางคณิตศาสตร์และแบบจาลองในการวิเคราะห์ปัญหาที่สาคัญ แตกต่างกันตามวัตถุประสงค์ในการนาไปใช้
– ระบบชุดคาสั่ง (DSS Software system) เป็นส่วนสาคัญที่ช่วยอานวยความสะดวกในการโต้ตอบระหว่างผู้ใช้กับฐานข้อมูลและฐานแบบจาลอง
– ข้อมูล เป็นองค์ประกอบที่สาคัญอีกส่วนหนึ่งของ DSS ไม่ว่า DSS จะประกอบด้วยอุปกรณ์ที่ทันสมัยและได้รับการออกแบบระบบการทางานให้สอดคล้องกันและเหมาะสมกับการใช้งาน
– ข้อมูลที่นำมาใช้ในการประมวลผลไม่มีคุณภาพ ก็ไม่สามารถช่วยสนับสนุนการตัดสินใจของผู้ใช้ได้อย่างเหมาะสม
– มีปริมาณพอเหมาะแก่การนาไปใช้งาน
– มีความถูกต้องทันสมัยในระดับที่เหมาะสมกับความต้องการ
– สามารถนามาใช้ได้สะดวก รวดเร็ว และครบถ้วน
– ข้อมูลที่นำมาใช้ในการประมวลผลไม่มีคุณภาพ ก็ไม่สามารถช่วยสนับสนุนการตัดสินใจของผู้ใช้ได้อย่างเหมาะสม
– มีปริมาณพอเหมาะแก่การนาไปใช้งาน
– มีความถูกต้องทันสมัยในระดับที่เหมาะสมกับความต้องการ
– สามารถนามาใช้ได้สะดวก รวดเร็ว และครบถ้วน
บุคลากร เป็นบุคคลที่เกี่ยวข้องกับ DSS ตั้งแต่กาหนดปัญหาและความต้องการ การพัฒนา ออกแบบ และการใช้ บุคลกรที่เกี่ยวกับกับ DSS แบ่งเป็น 2 กลุ่ม
– ผู้ใช้ (end-user) เป็นผู้ใช้งานโดยตรงของ DSS ได้แก่ ผู้บริหารในระดับต่าง ๆ นักวิเคราะห์และผู้เชี่ยวชาญทางด้านธุรกิจที่ต้องการข้อมูลประกอบการตัดสินใจ
– ผู้สนับสนุน DSS (DSS supporter) ได้แก่ ผู้ควบคุมดูแลรักษาอุปกรณ์ต่าง ๆ ผู้พัฒนาระบบสนับสนุนการตัดสินใจ ผู้จัดการข้อมูลและที่ปรึกษาเกี่ยวกับระบบ
– ผู้ใช้ (end-user) เป็นผู้ใช้งานโดยตรงของ DSS ได้แก่ ผู้บริหารในระดับต่าง ๆ นักวิเคราะห์และผู้เชี่ยวชาญทางด้านธุรกิจที่ต้องการข้อมูลประกอบการตัดสินใจ
– ผู้สนับสนุน DSS (DSS supporter) ได้แก่ ผู้ควบคุมดูแลรักษาอุปกรณ์ต่าง ๆ ผู้พัฒนาระบบสนับสนุนการตัดสินใจ ผู้จัดการข้อมูลและที่ปรึกษาเกี่ยวกับระบบ
คุณสมบัติของ DSS
พัฒนาการของเทคโนโลยีสารสนเทศในปัจจุบัน ทาให้ DSS ช่วยผู้บริหารในการตัดสินใจแก้ปัญหา โดยนำข้อมูลที่จะเป็นแบบจำลองในการตัดสินใจ
– สามารถโต้ตอบกับผู้ใช้ได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ
– ง่ายต่อการเรียนรู้และใช้งาน
– มีข้อมูล สนับสนุนการตัดสินใจที่เหมาะสมและสอดคล้องกับลักษณะของปัญหา
– สนับสนุนการตัดสินใจแบบกึ่งโครงสร้าง และไม่มีโครงสร้าง
– มีความยืดหยุ่นต่อความต้องการของผู้ใช้
- ระบบย่อยในการจัดการข้อมูล (Data management subsystem) ได้แก่ฐานข้อมูลที่บรรจุข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับสถานการณ์นั้นๆ และถูกจัดการโดยซอฟต์แวร์ที่เรียกว่า ระบบจัดการฐานข้อมูล (Database Management Systems : DBMS)
- ระบบย่อยในการจัดการตัวแบบ (Model management subsystem) เป็นชุดซอฟต์แวร์สำเร็จรูปที่รวมการทำงานเช่น การทำงานด้านการเงิน, สถิติ, วิทยาการการจัดการ หรือตัวแบบเชิงปริมาณอื่นๆ ที่มีความสามารถในการวิเคราะห์ข้อมูล และมีซอฟต์แวร์ที่ช่วยในการจัดการที่เหมาะสม เรียกว่า ระบบจัดการ ฐานตัวแบบ (Model base management system : MBMS)
- ระบบย่อยในการจัดการความรู้ (Knowledge management subsystem) เป็นระบบย่อยซึ่งสนับสนุนระบบย่อยอื่นๆ หรือเป็นส่วนประกอบแบบอิสระไม่ขึ้นกับองค์ประกอบอื่นๆ ช่วยให้ข้อมูลหรือความรู้แก่ ผู้ตัดสินใจ
- ระบบย่อยในการติดต่อกับผู้ใช้ (User interface subsystem) ผู้ใช้สามารถติดต่อสื่อสารและสั่งงานระบบสนับสนุนการตัดสินใจโดยผ่านระบบย่อยนี้
ระบบการจัดการฐานข้อมูล
(Database Management System : DBMS)
ระบบการจัดการฐานข้อมูล หมายถึง โปรแกรม หรือ ซอฟต์แวร์ที่ทำหน้าที่ในการบริหารและจัดการฐานข้อมูลในการสร้าง การเรียกใช้ การปรับปรุงฐานข้อมูล เป็นเสมือนตัวกลางระหว่างผู้ใช้งานกับระบบฐานข้อมูล โปรแกรมที่ใช้ในการจัดการฐานข้อมูล เช่น Microsoft Access, Oracle, My SQL หรือ SQL Sever
ระบบจัดการฐานข้อมูล ( Database Management System : DBMS) เป็นซอฟต์แวร์ที่ทำหน้าที่ในการสร้าง, เข้าถึง และปรับปรุงฐานข้อมูล โดยความสามารถของระบบจัดการฐานข้อมูลในระบบสนับสนุนการตัดสินใจ มีดังนี้
1) ดึงข้อมูลจากฐานข้อมูลของระบบสนับสนุนการตัดสินใจได้
2) ปรับปรุง (เพิ่ม ลบ แก้ไข เปลี่ยน) เรคอร์ดหรือแฟ้มข้อมูลได้
3) สร้างความสัมพันธ์ระหว่างแหล่งข้อมูลต่างๆ ได้
4) ดึงข้อมูลจากฐานข้อมูลเพื่อทำแบบสืบค้น(Query) และรายงานได้
5) สามารถจัดการรักษาความปลอดภัยของข้อมูลได้
6) ผู้ใช้สามารถทำการทดลองข้อมูลที่ต้องการใช้ในการตัดสินใจได้
7) สามารถทำการสืบค้นที่ซับซ้อนได้
8) สามารถติดตามการใช้ข้อมูลใน DSS ได้
9) สามารถจัดการข้อมูลผ่านดิกชันนารีข้อมูล (Data Dictionary) ได้ โดยที่ดิกชันนารีข้อมูลใช้สำหรับแสดงคำจำกัดความของข้อมูล
ระบบการจัดการตัวแบบ
(model management system)
ฐานตัวแบบ (Model Base) ได้แก่ ตัวแบบทางสถิติที่เกิดขึ้นบ่อยๆ หรือเกิดขึ้นเป็นเฉพาะกรณี เช่น ตัวแบบทางการเงิน ตัวแบบในการพยากรณ์ ตัวแบบทางด้านวิทยาการการจัดการ หรือตัวแบบเชิงปริมาณอื่นๆ ที่มีความสามารถในการวิเคราะห์ข้อมูล ในระบบสนับสนุนการตัดสินใจ แบ่งลักษณะตัวแบบออกเป็น
1.1 ตัวแบบเชิงกลยุทธ์ (Strategic models) ใช้เพื่อสนับสนุนการวางแผนกลยุทธ์ ในการจัดการระดับสูง เป็นตัวแบบเพื่อใช้ในการวางแผนระยะยาว ส่วนมากใช้ข้อมูลจากภายนอก ตัวอย่างเช่น การพัฒนา วัตถุประสงค์ขององค์การ การวางแผนในการรวมบริษัท การเลือกทำเลของโรงงาน การวิเคราะห์ ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม และการทำงบประมาณของงานที่ไม่ใช่งานประจำ
1.2 ตัวแบบเชิงยุทธวิธี (Tactical models) ใช้ในการจัดการระดับกลาง เพื่อช่วยในการจัดสรรและควบคุมทรัพยากรขององค์กร มักใช้กับระบบย่อยภายในองค์กร เช่นแผนกบัญชีใช้สำหรับวางแผนระยะ 1-2 ปี ใช้ข้อมูลจากภายในและบางครั้งอาจต้องใช้ข้อมูลจากภายนอก ตัวอย่าง เช่น การวางแผนความต้องการ ผู้ใช้แรงงาน การวางแผนสนับสนุนการขาย การวาง
โครงสร้างของโรงงาน และการทำงบประมาณต้นทุนของงานประจำ
1.3 ตัวแบบเชิงปฏิบัติการ (Operational models) ใช้สนับสนุนการทำงานรายวันขององค์กร สนับสนุนการตัดสินใจรายวัน หรือรายเดือนของผู้จัดการระดับล่าง มักใช้ข้อมูลภายใน ตัวอย่างเช่น การพิสูจน์หลักฐานการกู้เงินของบุคคล ของธนาคาร การจัดตารางการผลิตการควบคุมสินค้าคงคลัง การวางแผนและการจัดตารางการดูแลรักษา และการควบคุมคุณภาพ
1.4 ตัวแบบสำเร็จรูป (Model-building blocks) ใช้เสริมการทำงานของตัวแบบทั้ง 3 ข้างต้น ตัวอย่าง เช่น โปรแกรมย่อยสำหรับสร้างตัวเลขสุ่ม, โปรแกรมย่อยสำหรับคำนวณหาค่าปัจจุบัน, การวิเคราะห์ความ ถดถอย (regression analysis) หรืออาจใช้เป็นส่วนประกอบของตัวแบบขนาดใหญ่ ตัวอย่าง เช่น การหาค่าปัจจุบันเป็นส่วนหนึ่งของตัวแบบสำหรับตัดสินใจว่าจะทำเองหรือจะซื้อ
- ระบบจัดการฐานตัวแบบ (Model base management system : MBMS) ทำหน้าที่ในการสร้างตัวแบบ โดยใช้โปรแกรมย่อย และโปรแกรมย่อยสำเร็จรูปอื่นๆ ที่มีอยู่แล้ว หรือทำการสร้างโปรแกรมย่อยหรือรายงานใหม่ ทำการปรับปรุงตัวแบบ เปลี่ยนตัวแบบ และใช้ข้อมูลกับตัวแบบ
เป็นส่วนที่ทำหน้าที่เชื่อมตัวแบบกับฐานข้อมูล
- ภาษาในการสร้างตัวแบบ (Modeling language) เช่น ภาษาโคบอล (COBOL) หรือใช้โปรแกรมประเภทแผ่นงาน(Spreadsheet) หรือใช้ภาษารุ่นที่สี่ (The fourth Generation Language : 4GL)หรือภาษาพิเศษสำหรับการสร้างตัวแบบ เช่น IFPS/Plus
- ไดเรกทอรีตัวแบบ (Model directory) เป็นรายการของตัวแบบและซอฟต์แวร์ทั้งหมดในฐานตัวแบบ ประกอบด้วยคำจำกัดความของตัวแบบ และการทำงานหลักคือการตอบคำถามเกี่ยวกับการมีอยู่ และ ความสามารถของตัวแบบ
- การใช้งาน การรวบรวมและคำสั่งในตัวแบบ (Model execution, integration, and command) การใช้งานตัวแบบ (Model Execution) เป็นขบวนการในการควบคุมการทำงานจริงๆ ของตัวแบบการรวบรวมตัวแบบ(Model Integration) เป็นการรวมการทำงานของหลายๆตัวแบบเข้าด้วยกัน และตัวประมวลผลคำสั่งในตัวแบบ(A model Command processor) ใช้ในการรับ และแปลคำสั่งของตัวแบบจากส่วนรับคำสั่ง ให้กับ ระบบจัดการฐานตัวแบบ (MBMS), ส่วนการใช้งานตัวแบบ (model execution) หรือ ส่วนรวบรวม (integration function)
ปัญญาประดิษฐ์
(Artificial Intelligence : AI)
ปัญญาประดิษฐ์เป็นศาสตร์แขนงหนึ่งของวิทยาศาสตร์ คอมพิวเตอร์ ที่เกี่ยวข้องกับวิธีการทำให้คอมพิวเตอร์มีความสามารถคล้ายมนุษย์หรือเลียน แบบพฤติกรรมมนุษย์ โดยเฉพาะความสามารถในการคิดเองได้ หรือมีปัญญานั่นเอง ปัญญานี้มนุษย์เป็นผู้สร้างให้คอมพิวเตอร์ จึงเรียกว่าปัญญาประดิษฐ์ มุมมองต่อ AI ที่แต่ละคนมีอาจไม่เหมือนกัน ขึ้นอยู่กับว่า เราต้องการความฉลาดโดย คำนึงถึงพฤติกรรมที่มีต่อสิ่งแวดล้อมหรือคำนึงการคิดได้ของผลผลิต AI ดังนั้นจึงมีคำนิยาม AI ตามความสามารถที่มนุษย์ต้องการ
ระบบสนับสนุนการตัดสินใจระดับกลุ่มงาน
(Group Decision Support System : GDSS)
เป็นระบบย่อยหนึ่งในระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ โดยที่ระบบสนับสนุนการตัดสินใจจะช่วยผู้บริหารในเรื่องการตัดสินใจในเหตุการณ์หรือกิจกรรมทางธุรกิจที่ไม่มีโครงสร้างแน่นอน หรือกึ่งโครงสร้าง ระบบสนับสนุนการตัดสินใจอาจจะใช้กับบุคคลเดียวหรือช่วยสนับสนุนการตัดสินใจเป็นกลุ่ม นอกจากนั้น ยังมีระบบสนับสนุนผู้บริหารเพื่อช่วยผู้บริหารในการตัดสินใจเชิงกลยุทธ์
ประเภทของ GDSS
1. แบบห้องการตัดสินใจ (Decision room)
2. การตัดสินใจโดยใช้เครือข่ายวงแลน (Local Area Decision Network)
3. การประชุมทางไกล (Telecomferencing)
4. เครือข่ายการตัดสินใจ WAN (Wide Area Decision Network)
ประโยชน์ของ GDSS
1. ช่วยในการเตรียมความพร้อมในการประชุม
2. มีการจัดเตรียมข้อมูลและสารสนเทศที่เหมาะสมในการประชุม
2. มีการจัดเตรียมข้อมูลและสารสนเทศที่เหมาะสมในการประชุม
3. สร้างบรรยากาศในการร่วมมือกันระหว่างสมาชิก
4. สนับสนุนการมีส่วนร่วมและกระตุ้นการแสดงความคิดเห็นของสมาชิก
5. มีการจัดลำดับความสำคัญก่อนหลังของปัญหา
6. ช่วยให้การประชุมบรรลุผลในระยะเวลาที่สมควร
7. มีหลักฐานการประชุมแน่ชัด
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น