วันพฤหัสบดีที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561

บทที่ 6.2 E-Commerce


กรอบการทำงานของพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์
(A Framework for Electronic Commerce)


        กรอบการทำงานของพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ ตามรูปแบบจำลอง แบ่งองค์ประกอบออกเป็น 4 ส่วน ได้แก่

        1. การประยุกต์ใช้ (E-Commerce Application) หมายถึง ลักษณะงานที่จะทำ E-Commerce มาประยุกต์ใช้ให้เกิดความเหมาะสมกับธุรกิจ โดยมีแนวทางการประยุกต์ใช้ คือ
      • ด้านการค้าปลีกอิเล็กทรอนิกส์ (E-Retailing)
      • ด้านการโฆษณาพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (E-Advertisement)
      • ด้านการประมูลอิเล็กทรอนิกส์ (E-Auctions)
      • ด้านการให้บริการอิเล็กทรอนิกส์ (E-Service)
      • ด้านรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ (E-Government)
      • ด้านโมบายคอมเมิร์ซ (Mobile Commerce : M-Commerce)
      • ด้านโซเชียลคอมเมิร์ซ (Social Commerce : S-Commerce)
      • ฯลฯ


        2. โครงสร้างพื้นฐาน (E-Commerce Infrastructure) หมายถึง องค์ประกอบหลักสำคัญด้านเทคโนโลยีพื้ยฐานที่จะทำให้ระบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ทำงานได้ต่อไป แบ่งออกเป็น 5 ส่วน ดังนี้

                     2.1 โครงสร้างการให้บริการพื้นฐานของธุรกิจ (Common Business Service Infrastructure)
                     2.2 โครงสร้างการกระจายข้อความและข่าวสาร (Messaging and Information Distribution Infrasturcture)
                     2.3 โครงสร้างการจัดรูปแบบและเผยแพร่เนื้อหาแบบสื่อผสม (Multimedia Content and network Publishing Infrastructure)
                     2.4 โครงสร้างเครือข่าย (Network Infrastructure)
                     2.5 โครงสร้างการต่อประสาน (Interfacing Infrastructure)

        3. การสนับสนุน (E-Commerce Supporting) เป็นส่วนที่คอยทำหน้าที่ช่วยเหลือสนับสนุนส่วนของการประยุกต์ให้ใช้ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ประกอบด้วย
                     
                     3.1 บุคคล (People)
                     3.2 นโยบายของภาครัฐ (Public policy)
                     3.3 การตลาดและการโฆษณา (Marketing & advertising)
                     3.4 การสนับสนุนการบริการ (Support Services)
                     3.5 พันธมิตรทางธุรกิจ (Business Partnerships)
                     

        4. การจัดการ (E-Commerce Management) หมายถึง การวิเคราะห์ถึงองค์ประกอบของแบบจำลองทางธุรกจ เพื่อกำหนดรูปแบบของธุรกิจพาณิชอิเล็กทรอนิกส์ที่คาดว่าจะสร้างผลกำไรให้กับองค์กรได้เหนือคู่แข่งขัน และสร้างมูลค่าเพิ่มของธุรกิจให้มากขึ้น โดยมีการจัดการเชิงกลยุทธ์ เพือให้มีแผนการดำเนินงานภายใต้สภาพแวดล้อมการแข่งขันที่เพิ่มขึ้น

                     4.1 การพัฒนาระบบงานพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (E-Commerce Application Development)
                     4.2 การวางแผนกลยุทธ์พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (E-Commerce strategy)
                     4.3 การจดทะเบียนชื่อโดเมน (Domain Name Registration)
                     4.4 การโปรโมทเว็บไซต์ (Web Site Promotion)


รูปแบบการทำธุรกรรมพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์







ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

บทที่ 8 ระบบสนับสนุนการตัดสินใจ (Decision Support System)

                              ระบบสนับสนุนการตัดสินใจ หรือ DSS เป็นซอฟต์แวร์หรือตัวโปรแกรมที่ช่วยในการตัดสินใจเกี่ยวกับการบริหารจัดการ ...