วันอาทิตย์ที่ 23 กันยายน พ.ศ. 2561

บทที่ 2 กลยุทธ์เพื่อความได้เปรียบในการแข่งขัน



              การบริหารกลยุทธ์มหาสมุทรสีคราม ( Blue Ocean Strategy ) คือ กลยุทธ์การแสวงหาตลาดหรือลูกค้ากลุ่มใหม่ ซึ่งในตลาดกลุ่มนี้จะมีการแข่งขันน้อย ส่งผลให้ธุรกิจสามารถทำกำไรหรือองค์การสามารถอยู่รอดได้ดีกว่าเดิม รวมถึงการนำกลยุทธ์ใหม่ๆ มาใช้เพื่อให้ธุรกิจหรือการให้บริการที่สามารถปรับตนเองให้รองรับกับการเปลี่ยนแปลงและการแข่งขันได้ทันเวลาอยู่เสมอ

          หลักการของ Blue Ocean Strategy นั้น จะไม่มุ่งเน้นที่จะตอบสนองความต้องการของตลาดที่มีอยู่เดิม แต่จะเน้นในการสร้างความต้องการหรืออุปสงค์ขึ้นมาใหม่ โดยไม่สนใจและให้ความสำคัญกับคู่แข่งเดิมๆ แต่จะให้ความสนใจและเน้นการสร้างความต้องการของลูกค้าขึ้นมาใหม่ ซึ่งจะก่อให้เกิดประโยชน์หรือคุณค่าทั้งต่อองค์การเองและลูกค้า โดยลูกค้าก็จะได้รับคุณค่าที่ก่อให้เกิดความแตกต่าง ในขณะที่องค์การก็จะลดต้นทุนในส่วนที่ไม่จำเป็น นำไปสู่การเติบโตได้
เมื่อกล่าวถึงกลยุทธ์ในการเอาชนะคู่แข่งและก่อให้เกิดการได้เปรียบทางการแข่งขัน ( Competitive Advantage ) เมื่อใดก็ตาม ย่อมมีผู้ที่ได้เปรียบทางการแข่งขัน และจะมีผู้เสียเปรียบจากการแข่งขัน โดยผู้ที่เสียเปรียบนั้นจะพยายามลอกเลียนแบบผู้นำหรือผู้ที่ได้เปรียบในทุกด้าน แต่พยายามที่จะทำด้วยต้นทุนที่ต่ำกว่า ซึ่งสุดท้ายย่อมนำไปสู่การแข่งขันในด้านราคา และกลายเป็น Red Ocean Strategy ในที่สุด ซึ่งหลักการของ Blue Ocean Strategy พยายามท้าทายแนวคิดทางด้านกลยุทธ์ที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบัน โดยเสนอการแทนที่ จะมุ่งลอกเลียนแบบและเอาชนะคู่แข่งขัน ถ้าองค์การต้องการที่จะเติบโตจริงๆ จะต้องแสวงหาทะเลแห่งใหม่ แทนที่จะเป็นทะเลที่แดงด้วยเลือดแบบที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน ซึ่งอุปมาเหมือนกับเป็น Blue Ocean Strategy ทั้งนี้กลยุทธ์ในการสร้างความได้เปรียบในการแข่งขันมี 3 ประการด้วยกัน คือ

•  กลยุทธ์การเป็นผู้นำในด้านต้นทุนต่ำ ( Low Cost Leadership ) โดยเป็นกลยุทธ์ที่ธุรกิจจะต้องพยายามบริหารต้นทุนในการผลิตและในการบริหารจัดการภายในองค์การให้มีต้นทุนต่ำกว่าคู่แข่งขันและให้มีต้นทุนที่ต่ำที่สุด เพื่อให้เกิดความได้เปรียบ ซึ่งการที่ต้นทุนต่ำลงมากเท่าใด ก็จะหมายถึงกำไรที่เพิ่มมากขึ้นเท่านั้น

•  กลยุทธ์การสร้างความแตกต่างในสินค้าและบริการ ( Differentiation ) โดยเป็นกลยุทธ์ในการสร้างความแตกต่างของสินค้าและบริการให้ต่างจากคู่แข่งขัน เพื่อให้สามารถตอบสนองความต้องการของลูกค้าที่ต้องการต่างไปจากเดิม ซึ่งในการสร้างความแตกต่างนี้ จะต้องเน้นที่การสร้างมูลค่าเพิ่มให้เกิดกับสินค้าและบริการด้วยเช่นกัน

•  กลยุทธ์การให้ความสำคัญกับต้นทุนหรือความแตกต่าง ( Cost Focus or Differentiation Focus ) เป็นการนำกลยุทธ์ที่กล่าวมา ทั้งการสร้างความแตกต่างและการลดต้นทุนไปใช้กับตลาดเฉพาะกลุ่ม ซึ่งเป็นตลาดที่ยังมีขนาดที่ไม่ใหญ่และมีจำนวนลูกค้าไม่มาก การแข่งขันมีน้อย

         ในแนวทางของ Blue Ocean Strategy จะให้ความสำคัญกับกลยุทธ์ทั้งสองด้าน อันได้แก่ กลยุทธ์การให้ความสำคัญกับต้นทุนหรือความแตกต่าง เพื่อให้สามารถสร้างกลยุทธ์ใหม่ขึ้นมา และก่อให้เกิดกลุ่มลูกค้าใหม่ขึ้นมาได้ ในการที่จะสามารถพัฒนาธุรกิจให้สามารถนำ Blue Ocean Strategy มาใช้ให้เกิดประสิทธิภาพขึ้นได้จะต้องมีการนำทรัพยากรภายในที่มีอยู่ในทุกด้านมาใช้ทั้งเครื่องมือและวิธีการต่างๆ ที่จะส่งเริมทำให้เกิดตลาดใหม่ๆ ได้
         หัวใจของ Blue Ocean Strategy ก็คือ การสร้างมูลค่าทางนวัตกรรม Value Innovation ) ให้แก่สินค้าหรือบริการ อันจะทำให้ได้กลุ่มลูกค้าใหม่ๆ มากขึ้น อีกทั้ง Blue Ocean ยังมีเครื่องมือในการวิเคราะห์และกำหนดกลยุทธ์ที่องค์กรสามารถนำมาปรับใช้เพื่อนำไปสู่ตลาดใหม่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ เช่น

•  การพิจารณาองค์ประกอบที่ไม่มีความสำคัญให้ขจัดออกไป ทั้งนี้เพื่อตัดต้นทุนที่ไม่จำเป็น
•  การดูว่าองค์ประกอบใดที่มีมากเกินความจำเป็น และสามารถปรับลดลงได้หรือไม่ เพื่อลดต้นทุนส่วนเกิน
•  การดูว่าองค์ประกอบใดที่มีน้อยเกินไปและสามารถเพิ่มขึ้นเพื่อยกระดับคุณภาพสินค้าให้เหนือกว่ามาตรฐานโดยทั่วไปได้บ้าง ซึ่งเป็นการสร้างความแตกต่างเพื่อก้าวไปสู่ตลาดใหม่
•  การดูว่าองค์ประกอบใดที่องค์การอื่นๆ ในธุรกิจเดียวกันไม่เคยทำมาก่อนและเราสามารถสร้างขึ้นมาใหม่ เป็นวิธีการเปิดตลาดใหม่โดยนำนวัตกรรมมาใช้ให้เกิดประโยชน์

         การที่องค์การจะประสบความสำเร็จในการนำกลยุทธ์มหาสมุทรสีคราม หรือ Blue Ocean Strategy นั้น คงต้องมีการทบทวนตนเองทั้งในด้านจุดแข็ง และจุดอ่อน เพื่อที่จะนำพาองค์การเข้าสู่มหาสมุทรสีครามอันกว้างใหญ่ และไม่มีการสู้รบจนกลายเป็นมหาสมุทรสีแดงดังเดิมอีก


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

บทที่ 8 ระบบสนับสนุนการตัดสินใจ (Decision Support System)

                              ระบบสนับสนุนการตัดสินใจ หรือ DSS เป็นซอฟต์แวร์หรือตัวโปรแกรมที่ช่วยในการตัดสินใจเกี่ยวกับการบริหารจัดการ ...