วันเสาร์ที่ 20 ตุลาคม พ.ศ. 2561

บทที่ 5 Networking technology


NETWORKING TEACHNOLOGY



เทคโนโลยีเครือข่าย (Network Technology)
เทคโนโลยีของการสร้างเครือข่ายที่ใช้กันอยู่หลัก ๆ จะมีอยู่ประมาณ 5 วิธีคือ
1. การใช้เครือข่ายอีเธอร์เน็ตแบบสตาร์
2. การใช้เครือข่ายอีเธอร์เน็ตแบบบัส
3. การใช้สายโทรศัพท์ในบ้าน
4. การใช้สายไฟฟ้าในบ้าน
5. การใช้เทคโนโลยีไร้สาย 

เครือข่ายอีเธอร์เน็ตแบบสตาร์ (10BaseT/100BaseT) 
เครือข่ายอีเธอร์เน็ตแบบสตาร์หรือมีชื่อทางเทคนิคว่า 10BaseT ซึ่งต่อไปผมจะเรียกง่าย ๆ ว่าระบบ LAN แบบสตาร์ จะใช้อุปกรณ์ประเภท Hub หรือ Switch เป็นศูนย์กลางในการเชื่อมต่อ คุณจะต้องใช้สาย UTP (CAT5) ต่อระหว่างการ์ด LAN ของเครื่องพีซีแต่ละเครื่องมาที่พอร์ตของ Hub หรือ Switch เครือข่ายแบบนี้นิยมใช้ในบริษัทหรือตามร้านอินเตอร์เน็ตคาเฟ่ทั่ว ๆไป ถ้าคุณจะนำมาใช้ในบ้านขอบคุณเองก็ไม่ผิด เนื่องจากราคาอุปกรณ์ไม่ว่าจะเป็น Hub หรือ Switch การ์ด LAN และสาย UTP (CAT5) ในปัจจุบันค่อนข้างถูกในขณะที่ความเร็วในการรับส่งข้อมูลสูงมากถึง 100 Mbps (จริง ๆ ปัจจุบันได้ถึง 1000 Mbps แต่อุปกรณ์ยังมีราคาแพงอยู่) ซึ่งเพียงพอต่อการเล่นเกมผ่านระบบ LAN ได้อย่างสบาย วิธีนี้พวกร้านอินเตอร์เน็ตคาเฟ่นำไปใช้เป็นสูตรสำเร็จในการสร้างระบบ LAN ภายในร้านกันถ้วนหน้า 

Ethernet
อีเธอร์เน็ต (Ethernet) เป็นชื่อเรียกวิธีการสื่อสารในระดับล่างหรือที่เราเรียกว่าโปรโตคอล (Protocol) ของระบบ LAN ชนิดหนึ่งที่พัฒนาขึ้นโดย 3 บริษัทใหญ่คือบริษัท Xerox Corporation, Digital Equipment Corporation (DEC) และ Intel ในปี ค.ศ. 1976 ปัจจุบันมีอายุได้ประมาณเกือบ 30 ปีแล้ว โดยถูกจัดให้เป็นมาตรฐานของ IEEE 802.3 และใช้กันอย่างแพร่หลายจนกระทั่งถึงปัจจุบัน อีเธอร์เน็ตในช่วงแรกทำความเร็วได้ 10 Mbps แต่ปัจจุบันมีการพัฒนาเทคโนโลยีใหม่ที่เรียกว่า Fast Ethernet และ Gigabit Ethernet ที่ทำความเร็วได้ถึง 100 Mbps และ 1000 Mbps ตามลำดับ 
อีเธอร์เน็ตจะใช้เทคนิคในการรับส่งข้อมูลที่เรียกว่า CSMA/CD (Carrier Sense Multiple Access/Collision Detection) ซึ่งอธิบายได้คือในการส่งข้อมูลครั้งหนึ่ง ๆ จะกระทำได้ครั้งละคนเท่านั้น หากมีการส่งข้อมูลมากว่า 1 คนพร้อม ๆ กันจะทำให้ข้อมูลชนกันและนำมาใช้ไม่ได้ ซึ่งเหตุการณ์นี้เรียกว่าการเกิด “Collision” ซึ่งอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ต่าง ๆ จะมีสามารถในการตรวจสอบการเกิด Collision ได้จึงเป็นที่มาของคำว่า “Collision Detection” และเมื่อเกิด Collision ขึ้นอุปกรณ์คอมพิวเตอร์แต่ละชิ้นนั้นจะต้องมีการหยุดรอเพื่อส่งข้อมูลใหม่ โดยช่วงระยะเวลาที่แต่ละคนต้องหยุดรอเพื่อส่งข้อมูลใหม่นั้นจะอาศัยการคำนวณทางสถิติแบบสุ่ม (Random) ซึ่งโอกาสที่จะกลับมาส่งข้อมูลพร้อมกันอีกจึงมีน้อยมาก อย่างไรก็ตามหากเกิด Collision ขึ้นอีกก็ใช้วิธีหยุดรอเพื่อส่งข้อมูลใหม่ตามขั้นตอนที่ผ่านมานั่นเอง นอกจากนี้เพื่อลดโอกาสการเกิด Collision อุปกรณ์คอมพิวเตอร์จึงมีความสามารถในการตรวจสอบว่าปัจจุบันมีใครกำลังส่งข้อมูลอยู่หรือไม่ ถ้ามีจะไม่ส่งข้อมูลเข้าไปรบกวนซึ่งวิธีนี้เป็นที่มาของคำว่า Carrier Sense นั่นเอง สำหรับคำว่า Multiple Access ก็คือการที่อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ต่าง ๆ ใช้สื่อชุดเดียวกันในการรับส่งข้อมูลนั่นเอง

Client คือ เครื่องคอมพิวเตอร์ที่ไปร้องขอบริการและรับบริการอย่างใดอย่างหนึ่งจาก Server
server คือเครื่องคอมพิวเตอร์หรือระบบปฏิบัติการหรือโปรแกรมคอมพิวเตอร์ ที่ทำหน้าที่ให้บริการอย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่าง โดยอาศัยโปรแกรม Web Server แก่เครื่องคอมพิวเตอร์หรือโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่เป็นลูกข่าย ในระบบเครื่อข่าย
server แบ่งเป็น 3 ประเภทได้แก่
1.เครื่องคอมพิวเตอร์ที่ทำหน้าที่ให้บริการอะไรบางอย่างแก่คอมพิวเตอร์หรือโปรแกรมคอมพิวเตอร์อื่น
2.ระบบปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ที่ทำหน้าที่ให้บริการอะไรบางอย่างแก่คอมพิวเตอร์หรือโปรแกรมคอมพิวเตอร์อื่น
3.โปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่ทำหน้าที่ให้บริการอะไรบางอย่างแก่คอมพิวเตอร์หรือโปรแกรมคอมพิวเตอร์อื่น


client/server คือ การที่มีเครื่องผู้ให้บริการ (server) และเครื่องผู้ใช้บริการ (client) เชื่อมต่อกันอยู่ และเครื่องผู้ใช้บริการได้มีการติดต่อร้องขอบริการจากเครื่องผู้ให้บริการ เครื่องผู้ให้บริการก็จะจัดการตามที่เครื่องผู้ขอใช้บริการร้องขอ แล้วส่งข้อมูลกลับไปให้
เครือข่ายแบบ Client / server เหมาะกับระบบเครือข่ายที่ต้องการเชื่อมต่อกับเครื่องลูกข่ายจำนวนมาก โดยการรองรับจำนวนเครื่องลูกข่าย (Client )อาจเป็นหลักสิบ หลักร้อย หรือหลักพัน เพราะฉะนั้นเครื่องที่จะนำมาทำหน้าที่ให้บริการจะต้องเป็นเครื่องที่มี ประสิทธิภาพสูง เนื่องจากถูกต้องออกแบบมาเพื่อทนทานต่อความผิดพลาด ( Fault Tolerance )และต้องคอยให้บริการทรัพยาการให้กับเครื่องลูกข่ายตลอดเวลา โดยเครื่องที่จะนำมาทำเป็นเซิร์ฟเวอร์อาจเป็นคอมพิวเตอร์แบบเมนเฟรม มินิคอมพิวเตอร์ หรือไมโครคอมพิวเตอร์ก็ได้






Packet Switching 
เป็นวิธีการสื่อสารข้อมูลแบบดิจิทอลที่มีการรวมกลุ่มข้อมูลที่จะส่งทั้งหมดตั้งแต่เนื้อหา ชนิดหรือโครงสร้าง โดยจะมีการจัดเป็นบล็อกที่มีขนาดให้เหมาะเรียกว่า Packet (แพ็คเกจ) โดยมีการนำมาใช้งานทางทหารครั้งแรกในช่วงต้นทศวรรษ 1960 และมีการนำไปใช้ในเครือข่ายที่มีขนาดเล็กในปี 1968 โดยวิธีการส่งข้อมูลในลักษณะนี้กลายมาเป็นหนึ่งในเทคโนโลยีระบบเครือข่ายที่มีขนาดเล็กที่อยู่ในอินเทอร์เน็ต



Packet Switching (แพ็กเกตสวิตชิง) มีการส่งข้อมูลต่อเนื่องแบบ Variable-Bit-Rate (แวระเบิล บิท เรท) ผ่านเครือข่ายที่ใช้งานร่วมกัน เมื่อมีการส่งข้อมูลเข้าไปในเครือข่ายโดยผ่านอะแดปเตอร์ สวิตซ์ เราท์เตอร์และโหนดเครือข่ายอื่นๆ ตัวแพ็กเกตจะมีการพักเพื่อเข้าคิวในการส่งต่อไปที่อื่นๆ

Packet Switching (แพ็กเกตสวิตชิง) มีประโยชน์ในการรับและส่งข้อมูลได้ด้วยความเร็วและใช้เวลาน้อยเหมาะในการใช้เชื่อมต่อระหว่างคอมพิวเตอร์หรือเครือข่ายแลน (LAN) หลายๆเครือข่ายเข้าด้วยกัน อาทิเช่น แวน (WAN) ในการส่งข้อมูลมีข้อผิดพลาดที่น้อย สามารถลดขนาดของคอมพิวเตอร์ให้เล็กลงได้ ในการประมวลผลสามารถกระจายกันประมวลผลได้ และมีค่าใช้งายที่คงที่แน่นอน


TCP/IP
      การที่เครื่องคอมพิวเตอร์ที่ถูกเชื่อมโยงกันไว้ในระบบ  จะสามารถติดต่อสื่อสารกันได้นั้น จำเป็นจะต้องมีภาษาสื่อสารที่เรียกว่า โปรโตคอล (Protocol) ซึ่งในระบบ Internet จะใช้ภาษาสื่อสารมาตรฐานที่ชื่อว่า TCP/IP เป็นภาษาหลัก ดังนั้นหากเครื่องคอมพิวเตอร์ไม่ว่าจะเป็นเครื่องระดับไมโครคอมพิวเตอร์ มินิคอมพิวเตอร์ หรือเมนเฟรมคอมพิวเตอร์ ก็สามารถเชื่อมโยงเข้าสู่อินเทอร์เน็ตได้
TCP  ย่อมาจากคำว่า   Transmission Control Protocol
IP    ย่อมาจากคำว่า    Internet  Protocol
TCP/IP คือชุดของโปรโตคอลที่ถูกใช้ในการสื่อสารผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต
โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้สามารถใช้สื่อสารจากต้นทางข้ามเครือข่ายไปยังปลายทางได้
และสามารถหาเส้นทางที่จะส่งข้อมูลไปได้เองโดยอัตโนมัติ 

TCP และ IP มีหน้าที่ต่างกัน คือ
 1.  TCP จะทำหน้าที่ในการแยกข้อมูลเป็นส่วน ๆ หรือที่เรียกว่า Package ส่งออกไป ส่วน TCP ปลายทาง ก็จะทำการรวบรวมข้อมูลแต่ละส่วนเข้าด้วยกัน เพื่อนำไปประมวลผลต่อไป โดยระหว่างการรับส่งข้อมูลนั้นก็จะมีการตรวจสอบความถูกต้องของ ข้อมูลด้วย ถ้าเกิดผิดพลาด TCP ปลายทางก็จะขอไปยัง TCP ต้นทางให้ส่งข้อมูลมาใหม่
 2.  IP จะทำหน้าที่ในการจัดส่งข้อมูลจากเครื่องต้นทางไปยังเครื่องปลายทางโดยอาศัย IP Address











ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

บทที่ 8 ระบบสนับสนุนการตัดสินใจ (Decision Support System)

                              ระบบสนับสนุนการตัดสินใจ หรือ DSS เป็นซอฟต์แวร์หรือตัวโปรแกรมที่ช่วยในการตัดสินใจเกี่ยวกับการบริหารจัดการ ...